
แกะรอยประวัติศาสตร์จากอดีตสู่ปัจจุบันของเมืองปาย
หากคุณไปจากจังหวัดเชียงใหม่ใช้เส้นทางหมายเลข............ผ่านอำเภอ แม่ริมเข้าสู่อำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่ เลี้ยวซ้ายมาใช้เส้นทาง แม่มาลัย-ปาย (ไปได้ทางเดียว) ลัดเลาะป่าเขาลำเนาภัย ขึ้นเขา ลงเขา ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1095 ระหว่างท่านจะได้พบกับป่าอันอุดมสมบรูณร์ไปด้วยต้นไม้เขียวขจี ถ้าท่านไปช่วงระหว่าง เดือนพฤศจิกายน – เดือนมกราคมแล้ว ท่านจะได้พบกับดอกบัวตองบานสพร่างตามข้างทาง จนกระทั่งถึงหลักกิโลเมตรที่ 88 คุณจะได้พบกับกับสะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย สะพานแห่งนี้เปรียบเสมือนเป็นประตูสู อำเภอปายที่เชื่อมโยงห้วงเวลาจากอดีตสู่เมืองเล็กๆ กลางหุบเขาที่มีเรื่องราวกว่า 2000 ปีมาแล้ว ตามหลักฐานทางราชการได้บันทึกไว้ว่ากว่าจะมาเป็นอำเภอปายที่หลากหลายไปด้วยผู้คนจากต่างถิ่นเข้ามาเยือน ปายเคยเป็นเมืองที่มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยเฉพาะบริเวณเขตเมืองน้อย ได้ค้นพบถ้ำผีแมนซึ่งในอดีตนับเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ และในเวลาต่อมาเมืองน้อยก็ได้พัฒนามาเป็นชุมชนโบราณที่มีความสำคัญในสมัยของพระราชวงค์มังราย ในปัจจุบันเมืองน้อยตั้งอยู่ตำบลเวียงเหนือ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวปากะญอ(หรือที่เรียกว่ากระเหรี่ยง) และกำลังจะพัฒนามาเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งใหม่ของอำเภอปาย
ต่อมาอำเภอปายได้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชนเผ่าต่างๆเนื่องจากพื้นที่บริเวณอำเภอปายมีความอุดมสมบรูณ์ไปด้วย ป่าไม้ ขุนเขา แม่น้ำ และสัตว์ป่าโดยเฉพาะช้าง ที่แม้แต่เจ้านครเชียงใหม่ในสมัยนั้นยังเสด็จมาคล้องช้างเพื่อเอาไปใช้ในราชการบริเวณนี้ ต่อมาเมื่อมีผุ้คนมาอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากจนเกิดเป็นชุมชนใหญ่ใหญ่จึงได้มีการตั้งเจ้าเมืองและได้ช่วยกันขุดคูเมืองเพื่อป้องกันสัตว์ป่ามารบกวน โดยขุนส่างปายได้รับการยกย่องและแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง ณ บริเวณบ้านดอน (บ้านเวียงเหนือ)
หลังจากนั้นในสมัยพระเจ้าโหตรประเทศ พระราชาธิบดีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ส่งเจ้าเมืองแก้ว มาสำรวจชายแดนจนกระทั่งมาถึงเมืองปาย เมื่อได้สำรวจภูมิประเทศแล้วจึงได้แนะนำขุนส่างปายให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ทางฝรั่งขวาหรือทางทิศตะวันตกของแม่น้ำปาย เพราะเป็นที่ราบกว้างใกล้แม่น้ำซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก จากนั้นขุนส่างปายจึงเริ่มวางผังเมืองใหม่ และให้ชาวบ้านย้ายบ้านเรือนมาอยู่โดยตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า เวียงใต้ และเวียงเก่าชื่อเวียงเหนือ

ต่อมาได้มีการปรับปรุงถนนหนทางและผังเมืองใหม่ให้มีตรอกซอยในปีพศ. 2427 ชาวบ้านในบริเณใกล้เคียงทราบข่าวว่ามีการสร้างเมืองใหม่ จึงได้เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมาก จึงขยายจากหมู่บ้านมาเป็นตำบล และอำเภอ ต่อมาได้ตั้งหอเจ้าฟ้า หรือที่เรียกว่า ที่ว่าการอำเภอปายในปัจจุบันนั่นเอง
ในช่วงปี พ.ศ 2484 ปายจะเป็นเมืองหนึ่งที่ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทิ้งเรื่องราวของสงครามไว้ คือสะพานประวัติศาสตร์เอาไว้เป็นอนุสรณ์ แต่ปัจจุบันสิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ก็ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยนแห่งหนึ่งของปายขณะนี้ นักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางมาถึงสพานแห่งนี้มักนิยมลงมาเดินสูดอากาศบริสุทธ์เที่ยวชมความงามของสพานประวัติศาสตร์กันเป็นส่วนใหญ่
|